วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ

ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems) เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจ โดยจะเกี่ยวข้องกับการจัดความรู้ มากกว่าสารสนเทศทั่วไป และจะถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็น มนุษย์ เป็นการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบผู้เชี่ยวชาญจัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติด ตั้งใช้งานมากที่สุด ระบบจะทำการโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ แต่ระบบนี้จะมีความสามารถเฉพาะด้านต่อปัญหาเฉพาะทางที่ไม่สามารถแก้ไขดัด แปลงไปใช้แก้ปัญหาอื่นได้โดยง่าย
องค์ประกอบของระบบผู้เชี่ยวชาญ
ระบบผู้เชี่ยวชาญประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
1. ฐานความรู้ (Knowledge Base) เป็นส่วนของความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้งข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ทั้งหมดและกฎที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ในการตัดสินใจ
2. โปรแกรมของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System Software หรือ Software Resources) แบ่งเป็น 2ส่วน คือ ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้จากฐานความรู้และส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้
ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ

1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้และ
สามารถนำความรู้มาใช้งานได้ตลอดเวลา
2. ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจ
3. สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ระบบในการตัดสินใจ
4. ช่วยให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5. ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

3. ลักษณะของงานปัญญาประดิษฐ์ แยกออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. Cognitive Science = งานด้านนี้เน้นศึกษาว่าสมองมนุษย์ทำงานอย่างไร มนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร
ประกอบด้วยระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบงานความรู้
- ระบบเครือข่ายนิวรอน ถูกออกแบบให้เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ระบบนี้ในปัจจุบันถูกนำมา
ใช้เป็นเครื่องมือในการให้คำแนะนำเพื่อให้มนุษย์เป็ผู้ตัดสินใจในที่สุด
- ระบบแบ๊บเน็ต ระบบนี้พัฒนาขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านของนักเซลล์วิทยาลดลง วิธีนี้สะดวกในการ
ตรวจสอบมะเร็งปากมดลูก เพราะทำให้นักเซลล์วิทยาสามารถใช้เวลากับแต่ละรายการ หรือตรวจได้มากขึ้น
- ระบบการเรียนรู้ เป็นระบบที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมของระบบเองด้วย
2. Robotics = เป็น
งานที่พัฒนาบนพื้นฐานของวิศวกรรมศาสตร์
เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต์ให้มีความฉลาด ถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
เคลื่อนไหวได้เหมือนมนุษย์ มีทักษะในด้าน การมองเห็น,การสัมผัส,การหยิบจับสิ่งของ,การเคลื่อนไหว,
การนำทางเพื่อไปยังที่หมาย
3. Natural Interface = เป็น
งานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ เน้นการพัฒนาเพื่อให้คอมพิวเตอร์
และเครื่องจักรกลสื่อสารกับมนุษย์ได้รู้เรื่อง ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ
ดังนี้
- ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์
- ระบบภาพเสมือนจริง

2. ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"

ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทาง ภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน

1. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ( A.I. )

A.I.ถูกนำมาประยุกต์เพื่อการใช้งานในหลายๆส่วน ซึ่ง จุดเด่น ของ AI คือสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำสูง และสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
- ด้านการแพทย์
มีการนำแขนกลเข้าไปช่วยการผ่าตัด ซึ่ง สามารถทำงานได้ละเอียดกว่ามนุษย์มาก และข้อดีอีกประการคือการไม่มีความวิตกกังวล เกิดขึ้นในขณะทำงานอย่างเช่นในมนุษย์ที่อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดในการทำ งานได้ การใช้แขนกลช่วยในการผ่าตัด เป็นการทำงานที่มีความปลอดภัยสูง และอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์จึงเป็นการร่วมงานกันอย่างดีเยี่ยมระหว่างคน กับเครื่องจักรกล
- ด้านงานวิจัย
ในหลายงานวิจัย เริ่มมีการใช้ A.I. เข้ามาช่วยในการดำเนินงาน เช่นการสำรวจในบริเวณพื้นที่ทีมีความเสี่ยง อย่าง ปากปล่องภูเขาๆไฟ หรือในมหาสมุทรที่มีความลึกอย่างมากก็สามารถ สามารถใช้หุ่นยนต์สำรวจลงไปทำงานแทนได้ เพราะเครื่องจักรพวกนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ดีกว่ามนุษย์มาก ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดและแม่นยำกว่ามนุษย์
- ด้านอุตสาหกรรม
เป็นการช่วยลดภาระทางต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก ทั้งในงานบางประเภทที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือมีความเสี่ยงสูง จนไม่ค่อยมีใครอยากทำก็สามารถใช้ หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์มาทำงานแทนได้

- ด้านการบันเทิง
มีการสร้างหุ่นยนต์ที่สามารถตอบโต้กับมนุษย์ได้ เป็นสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนเล่น
- ด้านทางการทหาร
A.I หรือปัญญาประดิษฐ์ในพวกนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็น เครื่องบินไร้คนขับ รถถังไร้คนขับ โดยมีจุดประสงค์หลักในทางด้านความมั่นคง

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 13,14 และแบบฝึกหัด

สรุปบทที่ 13พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ ที่ช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงเป็นการดำเนินการธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
การจำแนกประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้
4 ลักษณะดังนี้ ธุรกิจกับธุรกิจ(B2B), ธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C), ธุรกิจกับรัฐบาล(B2G) และผู้บริโภคกับผู้บริโภค(C2C) ส่วนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งได้ 6 รูปแบบดังนี้ รายการสินค้าออนไลน์ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ การประกาศซื้อ-ขายสินค้า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์และตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
การทำการค้าบนโลกอินเทอร์เน็ตมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากการค้าขายทั่วๆไป ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปดังต่อไปนี้

-การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล

-การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน

-การให้บริการได้ตลอด24 ชั่วโมง

-การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง

-การสร้างร้านค้าเสมือนจริง

-การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค

-โครงข่ายเศรษฐกิจ

-การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี

การที่องค์การจะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานเพื่อสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้เพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น ส่วนข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีความแน่นอน ต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูงหรือลูกค้ายังไม่สามารถเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า เป็นต้น

ส่วนหลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างจากหลักการตลาดทั่วไป ซึ่งเรียกว่าหลักการตลาด6Ps ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย การรักษาความเป็นส่วนตัว และการให้บริการแบบเจาะจง อีกทั้งยังพบปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพบว่ารัฐบาลควรมีมาตรการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างรีบด่วน เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำการค้าด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นใจ นอกจากนี้ต้องมีกฎหมายรัดกุมและต้องส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ทางด้านสารสนเทศด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 13

1.จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ เป็นการดำเนินการธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2.เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง

ตอบ เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยทรงเสริม และเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจ ซึ่งแฝงไปด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับผู้ประกอบการ

3.ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง

ตอบ สามารถจำแนกได้ 4 ลักษณะดังนี้ ธุรกิจกับธุรกิจ(B2B), ธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C), ธุรกิจกับรัฐบาล(B2G) และผู้บริโภคกับผู้บริโภค(C2C)

4.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร

ตอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์มีข้อแตกต่างจากการดำเนินการทั่วไปดังนี้

1. เพื่อประสิทธิภาพและระสิทธิผล

2. การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน

3. ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

4. ควบคุมและปฎิสัมพันธ์ได้ด้วยตัวเอง

5. สร้างร้านค้าเสมือนจริง

6. ช่วยติดตามพฤติกรรมผู้บริโภค

7. ส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี

8. สร้างโครงข่ายเศรษฐกิจ

5.หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ ประกอบด้วย

1.ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตรงตามความต้องการของลูกค้า

2.ราคา ควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับตลาดและผู้บริโภค

3.ช่องทางการจัดจำหน่าย หาทำเลการค้าที่ดี

4.การส่งเสริมการขาย กระบวนการที่จะทำให้ขายสินค้าได้มาก เช่น การลด แลก แจก แถมสินค้า เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า

5.การรักษาความเป็นส่วนตัว คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ผู้ดูแลเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกจารกรรมออกไปได้

6.การให้บริการแบบเจาะจง เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้

6.จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร

7.จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ ความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีความแน่นอน ต้นทุนในการพัฒนาค่อนข้างสูงหรือลูกค้ายังไม่สามารถเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพสินค้า

8.ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

ตอบ 1. ปัญหาในเรื่องของผู้ประกอบการ

2. ปัญหาในเรื่องของบุคลากรยังไม่มีความพร้อม

3. ปัญหาในเรื่องของการตลาด

4. ขาดความเชื่อมั่นในผลตอบแทนที่จะได้รับ

5. ปัญหาในเรื่องของความเชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัย

6. ความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อของธุรกิจ ว่าจะได้สินค้าที่มีคุณภาพตามความต้องการ

7. ค่าบริการใช้อินเทอร์เน็ตและค่าบริการสื่อสารยังมีราคาแพง

8. กลุ่มเป้าหมายทางการค้าหรือประชาชนนั้นยังขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

9. ผู้ประกอบการยังกังวลกับกฎหมายที่รองรับการประกอบการ

สรุปบทที่ 14 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การดำเนินชีวิตในสังคมสารสนเทศจะมีการพัฒนาและนำเทคโนโลยีระดับสูงมาสนับสนุนการทำงานและการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยนี้จะพัฒนารวดเร็วกว่าสมัยอุตสาหกรรมมาก ข้อมูลและข่าวสารจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วและอิสระ พรมแดนทางการเมืองจะลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจการค้าที่ขยายตัวสู่ระดับโลกในที่สุด ประชาชนจะมีความเป็นอิสระในการรับรู้ข่าวสารและขั้นตอนการทำงาน โดยที่หลายหน่วยงานมีการลดขนาดลง บางหน่วยงานศึกษาถึงการปรับตัวให้มีขนาดที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งการรื้อปรับระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินงานแข่งขันธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว

ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถมองข้ามหรือปล่อยให้หัวหน้างานหรือหน่วยงานสารสนเทศดูแลรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายและการใช้งานเทคโนโลยีเพียงฝ่ายเดียวประกอบกับการกระจายตัวของการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในหน่วยงานต่างๆทำให้สมาชิกในองค์การมีความคุ้นเคยและเข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น จึงต้องมีการกำหนดทิศทางการจัดการเทคโนโลยีร่วมกัน ซึ่งต้องได้รับการเริ่มต้นและส่งเสริมจากผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่มีต่ออนาคตขององค์การ โดยติดตามข่าวสารข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยี นอกจากนี้การจัดตั้งคณะกรรมการสารสนเทศขององค์การจากบุคคลหลายกลุ่ม จะช่วยให้การกำหนดนโยบายด้นสารสนเทศขององค์การมีความชัดเจน แน่นอน และถูกต้องขึ้น

แบบฝึกหัดบทที่ 14
1.จงยกตัวอย่างการปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ
ตอบ
1.องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

2.มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการทำงาน

3.ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง

4.หลายหน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย

2.เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร?

ตอบ เพื่อให้สามารถดำเนินงานและแข่งขันกับธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว

3.ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าสู่ยุคสารสนเทศอย่างไร?

ตอบ 1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต

2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย

เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ
4.เทคโนโลยีที่มีผลต้องการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง?
ตอบ
1. ประโยชน์โดยตรง ปกติองค์การเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

2. ความยืดหยุ่น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานให้แก่องค์การ ส่งผลให้องค์การสามารถ พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์

3. ความสามารถในการแข่งขัน นอกจากการใช้งานตามประโยชน์โดยตรงแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ เพื่อให้องค์การสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอก องค์การได้เร็ว กว่าคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

4. รายได้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มรายได้แก่องค์การทั้งโดยตรงและทางอ้อม เช่น การรวบรวมและให้บริการและ ให้บริการด้านสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์การอื่น

5.ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ประการสำคัญของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานปัจจุบันคือ การลดค่าใช้จ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์การเช่น การประเมิน ผลข้อมูล การตรวจสอบ และการควบคุม ค่าแรงงาน เป็นต้น

6. คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ระบบผลิต

7. โอกาส ปัจจุบันความได้เปรียบด้านสารสนเทศได้สร้างความแตกต่างระหว่าง องค์การองค์การ ที่มีศักยภาพด้าน สารสนเทศ สูงย่อมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ในการสร้างโอกาสในการดำเนินงานทั้งทาง ตรง เช่น การนำสารสนเทศมา ประยุกต์เชิงกลยุทธ์ และทางอ้อม เช่นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ
5.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานขององค์การอย่างไร?
ตอบ
ทำให้องค์การสามารถรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย
6.เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร?
ตอบ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (
Very Large Scale Integrated Circuit, VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผลของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์
7.จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ตอบ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย

การใช้งาน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดเค้าร่าง (schema) ที่ต้องการสำหรับการอธิบายสารสนเทศภูมิศาสตร์และการบริการ โดยให้สารสนเทศเกี่ยวกับการบ่งชี้ ขอบเขต คุณภาพ เค้าร่าง เชิงพื้นที่และเชิงเวลา การอ้างอิงเชิงพื้นที่ การเผยแพร่ของสารสนเทศภูมิศาสตร์เชิงเลข
8.เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ?
ตอบ
เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา
9.ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ สังคมส่วนใหญ่เกือบทุกสังคมในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และนับถือสังคม
เปิด ที่ประชาชนมีความสนใจและมีการบริโภคข่าวสารในอัตราสูง และในปัจจุบันสื่อสารมวลชนก็ยังมีเสรีภาพที่ค่อนข้างจะเต็มเปี่ยม เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับไทย ที่จัดว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่สังคมเปิดของไทยจะยังสมบูรณ์เต็มที่ไม่ได้ หากกลไกของรัฐ ยังไม่สามารถจะขจัดอุปสรรคที่ยังมีเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปของราชการแก่สาธารณชนได้อย่างเปิดเผยและเสรีเต็มที่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ความรู้ ซึ่งหมายถึง สารสนเทศผนวกกับทักษะประสบการณ์ของบุคลากร ความรู้จะเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มขององค์การ ที่พร้อมจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในองค์การ ในการบริหารความสำเร็จจำเป็นต้องขยายผลจากการทำให้วิสัยทัศน์มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความกระตือรือร้นขององค์กรในการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ และเพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินกิจการไปสู่เป้าหมายร่วมกันขององค์การ ประสิทธิภาพ ประสิทธิ ผลขององค์การ ขึ้นกับความสามารถของบุคลากรในองค์การ ในการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ แนวคิด เทคนิคการดำเนินงาน นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน ภายในองค์การ เราต้องสร้างตัวเร่งในขับเคลื่อนให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน เอื้ออำนวย ดังนั้นความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์การให้ก้าวไปข้างหน้า สำหรับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงขึ้นอยู่กับเราท่านลูกพ่อขุนทุกคน

10.จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตอบ 1.ความเป็นส่วนตัง (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์โดยทังไปชาวอเมริกันถือว่าในเรื่อสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวมากโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่างๆหากไม่ได้รับอนุญาตแล้วจะเข้ามาสังเกตและเรียกใช้ข้อมูลไม่ได้ทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคลทีเดี่ยวซึ่งตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยกว่าชาวอเมริกันมาก

2.ความถูกต้อง (Accuracy) การทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้อาจจะเก็บรวบรวมข้อมุมูลที่ไม่ถูกดต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้

3.ความเป็นเจ้าของ(Property)เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบต่าง ๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยาต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเขาจะมีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์สินชนิดอื่น ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ อย่างไรก็ตามการพิจารณาในเรื่องข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มักเป็นเรื่องที่ชี้ชัดให้เกิดความกระจ่างได้ยาก

4.การเข้าถึงข้อมูล(Access)ธรรมชาติขิงผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้นจะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไปข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันจำเป็นต้องใช้รหัสพิเศษก่อนที่ผู้ใช้จะมีสิทธิใช้งานและสามารถใช้ได้อย่างจำกัดดังตัวอย่างบริษัทที่มีประวัติข้อมูลลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบันเจ้าของบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าเหล่านั้นหรือไม่และบริษัทดังกล่าวจะขายรายชื่อลูกค้าพร้อมกับรายละเอียดส่วนตัวให้กับบริษัทอื่นได้หรือไม่คำถามเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผุ้ครอบครองข้อมูลทั้งสิ้น

สรุปบทที่ 10,11,12 และแบบฝึกหัด

สรุปบทที่ 10 การจัดการความรู้

ในสังคมแห่งความรู้ (Knowlede Society) ความรู้ ถือเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่ายิ่งซึ่งแตกต่างจากปัจจัยอื่นๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งสภาวะดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยลำดับขั้นของความรู้สามารถแบ่งออกเป็น 5 ลำดับขั้นคือ ข้อมูล ความรู้ สาสนเทศ ความชำนาญ ความสามารถ

ในปัจจุบันองค์การที่ประสบความสำเร็จคือ องค์การที่มีการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอและเผยแพร่ความรู้นั้นไปทั่วทั้งองค์การ lkujiro Noraka และ Tekeuchi (1995) จึงได้นำเสนอโมเดความรู้ที่มีชื่อว่า SECI – Knowledge Conersion Process ที่ประกอบด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการ ได้แก่ Soci alization, Externalition, Combination, และ Internalization

ในเมื่อสารสนเทศและความรู้มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการจัดการสารสนเทศไม่สามารถจัดการความรู้ได้ เพราะมีความซับซ้อนมากกว่า จึงมีการจัดการความรู้หรือ KM เกิดขึ้น ซึ่งการจัดการความรู้ หมายกึงกระบวนการอย่างเป็นระบบที่องค์การพัฒนาขึ้นมาเกี่ยวกับการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้/การแพร่กระจายความรู้ เพื่อพัฒนาให้องค์การมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน

กระบวนการในการจัดการความรู้นั้น มีการจำแนกที่แตกต่างกัน จากการศึกษา ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่ากระบวนการจัดการความรู้นั้น ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 5 ส่วนคือ กระบวนการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้/การเผยแพร่ความรู้ โดยองค์การที่มีความคิดในการจัดความรู้ จำเป็นต้องพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เฉพาะองค์การเองเพื่อให้องค์การสามารถจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

แบบฝึกหัดบทที่10

1.เพราะเหตุใดในปัจจุบันความรู้จึงมีความสำคัญกับองค์การ?

ตอบ เมื่อข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นอย่างมากมายจึงทำให้เกิดสังคมแบบใหม่ที่เรียกกันว่า สังคมสารสนเทศ , สังคมแห่งความรู้ หรือสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นผลให้องค์การต่างๆต้องปฏิรูปตนเองเพื่อความอยู่รอดกันอย่างเต็มที่ และรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

2.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล ความรู้ และสารสนเทศ

ตอบ ข้อมูล คือ ชุดของข้อเท็จจริงเชิงวัตถุสามารถมองเห็นได้ เมื่อใช้กับหน่วยงานราชการ คำว่าข้อมูลหมายถึง บันทึกกิจกรรมทางราชการ เช่น มีผู้มาติดต่อราชการ เพื่อ ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูล เราสามารถบอกได้ว่า ผู้ประกอบการจะผลิตอะไร มีส่วนประกอบอะไร สถานที่ผลิตตั้งอยู่ที่ไหน เลขทะเบียนที่ ได้รับ คือหมายเลขอะไร

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
ความรู้ คือ กรอบของการประสมประสานระหว่าง ประสบการณ์ ค่านิยม และความรอบรู้บริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบของ การประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมเข้าด้วยกัน
3.ลำดับขั้นของความรู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?

ตอบ 5 ปะเภท

1. ความสามารถ (Capability)

2.ความชำนาญ (Expertise)

3. ความรู้ (Knowledge)

4. สารสนเทศ (Information)

5. ข้อมูล (Data)

4.โมเดลการสร้างความรู้ (SECI) ประกอบด้วยกระบวนการอะไรบ้าง และแต่ละกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างไร?

ตอบ Socialization คือ การสร้างความรู้ด้วย การแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะ
สมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการถ่ายทอด แบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
Externalization คือ การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้
เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร Combination คือ การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆเพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้ Internalization คือ การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง ๆโดยการ ฝึกคิด ฝึกแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และปรับปรุงตนเอง

5.เพราะเหตุใดองค์การในปัจจุบันจึงเล็งเห็นเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้?

ตอบ จะเห็นได้ว่า การสร้างความรู้ให้อยู่คู่กับองค์การจะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทั้งองค์กร ไม่ใช่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างความรู้ในองค์การ คือ องค์จะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความรู้ และเมื่อองค์การร่วมกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้ จะทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์การในที่สุด ดังนั้นองค์การใดที่มีการสร้างสรรค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้งจะเป็นแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ในองค์การต่อไป

6.จงอธิบายความหมายของการจัดการความรู้

ตอบ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

7.กระบวนการของการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง?

ตอบ ประกอบด้วย 6 ส่วน

1. การสร้างความรู้ (Create)

2. การจัดและเก็บความรู้ (Capture/Store)

3. การเลือกหรือกรองความรู้ (Refine)

4. การกระจายความรู้ (Distribute)

5. การใช้ความรู้ (Use)

6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้ (Monitor)

8.ดังที่ Brain Quiun กล่าวไว้ว่าการจัดการความรู้เป็นกระบวนการ ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร?

ตอบ เห็นด้วย เพราะเทคโนโลยีช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทไม่มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และจะเห็นได้ว่า ลำพังเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดสินค้า บริการ กระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ได้ เพราะทั้งหมดนี้จะมีอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จในการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ความสำเร็จในการจัดการความรู้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว

สรุปบทที่ 11 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

ปัจจุบันสมาชิกหลายส่วนในสังคมสมัยใหม่ได้เริ่มตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนรูปของระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ชัดเจนกว่าอดีต นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการทำกิจกรรม และต่อความสัมพันธ์ของภาคธุรกิจทั้งในระดับองค์การ กลุ่ม และบุคคล โดยเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การดำเนินงานขององค์การสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง

ระบบสารสนเทศทางธุรกิจเป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศทางธุรกิจออกเป็นระบบย่อยดังต่อไปนี้

*ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี

*ระบบสารสนเทศด้านการเงิน

*ระบบสารสนเทศด้านการตลาด

*ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน

*ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล

ปัจจุบันผู้จัดการด้านต่างๆของธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การผลิต หรือทรัพยากรบุคคลต่างต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการดำเนินงานมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารที่ขาดทักษะด้านสารสนเทศจะเสียโอกาสในการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน ดังนั้นบุคคลที่ต้องการความสำเร็จในอนาคตต้องติดตาม และคาดการณ์แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทัน

แบบฝึกหัดบทที่ 11

1.เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ?

ตอบ เพื่อได้มีความพยายามเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ สร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การและผู้บริหารสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

2.จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ?

ตอบ ขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ คือ การกำหนดกลยุทธ์, กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การ, ปริมาณโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศและกำหนดรายละเอียดดำเนินงาน

3.ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร?

ตอบ มีลักษณะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศ และมีความสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคือมีการจัดสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และจะประมวลผลสารสนเทศ

4.ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อะไรบ้าง?

ตอบ มีหน้าที่ที่สำคัญ 3 ประการคือ

1.การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ

2.การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย

3.การควบคุมทาการเงิน (Financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้

1.การควบคุมภายใน (Internal Control)

2.การควบคุมภายนอก (External Control)

5.ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง?

ตอบ ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมี 8 ระบบดังนี้

1.ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย

2.ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด

3.ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย

4.ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ

5.ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย

6.ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร

7.ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา

8.ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย

6.เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้าง? จงอธิบายอย่างละเอียด

ตอบ 1.ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน(Production/Operations Data)เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจัยของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหา และการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต

2.ข้อมูลสินค้าคงคลัง(Inventory Data)บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น

3.ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ(Supplier Data)เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติและราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่องทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange)หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยในการประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น

4.ข้อมูลแรงงานและบุคลากร(Labor Force and Personnel Data)ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม

5.กลยุทธ์องค์การ(Corporate Strategy)แผนกกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

7.ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร?

ตอบ MRP คือระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมคือ ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต,ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ เป็นต้น

8.ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร?

ตอบ สามารถทำให้การผลิตและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมาก

9.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร?

ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในเรื่องการดำเนินงานช่วยให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

10.จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ?

ตอบ การตัดสินใจในเรื่องของค่าจ้างและสวัสดิการ

สรุปบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ

หัวใจสำคัญในการธำรงอยู่ขององค์การธุรกิจ คือ ธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน และสามารถดำเนินการแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์การธุรกิจต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอกจนการรักษาพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงในสังคม ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่า การดำเนินเชิงกลยุทธ์

ปัจจุบันเราสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การในหลายระดับตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การจัดทำและนำเสนอสารสนเทศแก่ผู้บริหาร จนกระทั่งถึงการดำเนินงานในระดับกลยุทธ์ขององค์การ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาใช้ในการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น

*การกำหนดโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การใหม่

*การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และพันธมิตรธุรกิจ

*การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและการให้บริการ

*การเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันและการเป็นพันธมิตร

*การส่งเสริมศักยภาพในด้านการตัดสินใจละการทำงานกลุ่ม

*การสร้างความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรือล้มเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาทสำคัญ นอกเหนือจากการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างผลงานให้แก่ตนเองแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 12

1. เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์?

ตอบ เพราะการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดีจะทำให้องค์การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างๆได้ และอาจจะทำให้องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ในด้าน

2.ความได้เปรียบทางการแข่งขัน(Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง?

ตอบ แก่นของความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจภาคเอกชน กลยุทธ์ในการแข่งขันก็คือการค้นหาความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตลาด หรือการได้กำไรที่มากกว่าที่บริษัทอื่นทำได้ตามปกติ กลยุทธ์เช่นนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้บริษัทสามารถได้กำไรได้อย่างยั่งยืนเหนือกว่าคู่แข่ง เมื่อบริษัทคู่แข่งรู้จักใช้ไอทีเหมือนกับเราก็จะทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรักษาความได้เปรียบเอาไว้ได้ตลอดไป การเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอาจทำให้คู่แข่งขันสามารถพัฒนาระบบใหม่ ๆ ได้ในเวลาอันสั้นและทำให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเมื่อปีก่อนกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปได้ โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนได้

การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ประกอบปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น การเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ดอกเบี้ยและน้ำมันมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น การหลั่งไหลของสินค้าจากประเทศจีน เป็นต้น ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดี ที่จะสามารถ แข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้

3.องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร?

ตอบ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถ ปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของ แต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรง รักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Abilety)ขององค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดรับกัน (Harmony)ระหว่างโครงสร้างองค์การ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง

4.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ?

ตอบ โครงสร้างขององค์การธุรกิจสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ ซึ่งประกอบไปด้วยฐานข้อมูลต่าง ๆ ขึ้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐ?

ตอบ ผู้บริหารไทยไม่ด้อยกว่าด่างชาติ ขอเพียงแต่ผู้บริหารไทยศึกษาหาความรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ (New Innovation) และศึกษาการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ

6.ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า?

ตอบ องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

7.จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูง ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ?

ตอบ บริหารระบุความต้องการ สารสนเทศ ได้ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน

2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร

3.ผู้บริหารต้องวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ

8.เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ?

ตอบ เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไร เพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย

9.เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร?

ตอบ - พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่

- พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่

- พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด

10.เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ?

ตอบ เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้าน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น